รักษา "ตากุ้งยิง" ได้ด้วยตัวเอง
บทความสุขภาพ
18 ส.ค. 2566
ครั้ง
รักษา "ตากุ้งยิง" ได้ด้วยตัวเอง
ตากุ้งยิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่ทำให้เกิดอาการอักเสบของต่อมไขมันหรือต่อมเหงื่อบริเวณเปลือกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยมีประวัติต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน หรือเปลือกตาอักเสบ
อาการตากุ้งยิง- คันบริเวณดวงตา ตาบวม
- เปลือกตามีสีแดง
- มีก้อนเนื้อนูนขึ้นบริเวณเปลือกตา ซึ่งสามารถขึ้นทั้งด้านนอกเปลือกตาและด้านในเปลือกตา
- ก้อนนูนบริเวณเปลือกตาก็จะกดแล้วเจ็บ
- ก้อนนูนกลายเป็นหนองในที่สุด อาจเกิดการแตกได้
- การใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาด มีการปะปนของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus อยู่
- การใช้เครื่องสำอางปะปนกับผู้อื่น
- การล้างเครื่องสำอางที่ไม่สะอาด
- เป็นบุคคลที่เคยเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
- การสัมผัสบริเวณดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาดจะมีโอกาสเป็นได้ง่าย
- การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกวิธีและไม่สะอาด
- การเคยเป็นโรคเปลือกตาอักเสบมาก่อน
- การมีภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากการมีโรคประจำตัว อย่างโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ประคบอุ่นที่เปลือกตา 5-10 นาที วันละ 3-5 ครั้ง
- ล้างมือและหน้าบ่อย ๆ ให้สะอาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเปลือกตาส่วนที่เป็นกุ้งยิง
- ไม่บีบหรือกดระบายหนองจากตากุ้งยิง
- อาการบวมแดงของเปลือกตาบริเวณกว้าง
- อาการแสบปวดร้อนอย่างหนักบริเวณเปลือกตา
- ตาเกิดอาการพร่า มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
- หมั่นรักษาความสะอาดของดวงตา และ ผิวหน้า
- งดการใช้ผ้าขนหนู หรือ กระดาษทิชชู่เช็ดบริเวณดวงตาและเปลือกตาบ่อย ๆ
- งดการสัมผัสบริเวณดวงตาโดยตรงด้วยมือ แม้ว่าจะล้างสะอาดแล้วก็ตาม
- ไม่บีบหนองออกด้วยตนเอง หากอาการรุนแรง ต้องการเอาหนองออกควรไปเจาะหนองออก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- งดการใช้เครื่องสำอางบริเวณดวงตาไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบำรุงผิว หรือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มตกแต่งเพื่อความสวยงาม
ส่วนมากแล้วตากุ้งยิงจะสามารถหายได้เอง ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา และไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ในบางคน ตุ่มอาจจะแตก และมีหนองออกมาหลังจาก 3-4 วันแรก แต่หากไม่ดีขึ้นควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มด้วยยาปฏิชีวนะหรือการเจาะระบายหนองจากตากุ้งยิง
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา