8 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับ "โรคไวรัสตับอีกเสบบี"
บทความสุขภาพ
13 ต.ค. 2565
ครั้ง
8 เรื่องเข้าใจผิด เกี่ยวกับ "โรคไวรัสตับอีกเสบบี"
ถ้าพูดถึงโรค #ไวรัสตับอับเสบบี เชื่อว่าหลายคนรู้จัก เพราะเราเรียนและได้ยินชื่อโรคนี้อยู่ตลอด แม้แต่รายชื่อวัคซีนก็มีวัคซีนของโรคไวรัสตับอับเสบบีเป็นวัคซีนแรก ๆ ถึงแม้ชื่อโรคจะคุ้นเคย แต่เราก็มั่นใจว่าหลายคนยังมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอับเสบบีอยู่ วันนี้เราเลยมี 8 เรื่องที่มักเข้าใจผิด เกี่ยวกับ "โรคไวรัสตับอักเสบบี"
- โรคไวรัสตับอับเสบบีไม่ใช่โรคที่ติดต่อกันทางน้ำลาย สามารถกอดจูบ ทานข้าวร่วมกัน ดื่มน้ำร่วมกันได้ และไม่ติดต่อผ่านทางลมหายใจ
- โรคไวรัสตับอับเสบบีติดต่อกันทางสารคัดหลั่งอื่น ๆ เช่น น้ำเหลือง น้ำเชื้อ และเลือด ที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล และติดต่อทางกรรมพันธุ์จากแม่สู่ลูก ดังนั้นวิธีติดต่อจะคล้ายกับโรคเอดส์มาก
- โรคไวรัสตับอับเสบบีแบ่งเป็น 2 ชนิด คือแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง หากเป็นแบบเฉียบพลันจะเป็นแล้วหายขาดเลยภายใน 6 เดือน แล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจนไม่กลับไปเป็นอีก แต่แบบเรื้อรังจะเป็นนานมากกว่า 6 เดือน
- นอกจากจะมีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอับเสบบีแล้ว ยังมีผู้ที่เป็นเพียงพาหะ ดังนั้นตอนตรวจร่างกายก่อนแต่งงานควรตรวจหาเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบีด้วย
- โรคไวรัสตับอับเสบบี ตามชื่อโรค มีไวรัสทำให้ตับอักเสบ จนทำให้มีอาการป่วย
- นอกจากนี้ยังมีโรคไวรัสตับอับเสบเอ ซี ดี และอี อีกด้วย แต่โรคไวรัสตับอับเสบบีเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด และอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในภายหลัง
- โดยปกติเด็กเล็กแพทย์จะนัดฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอับเสบบีให้ครบ 3 เข็มอยู่แล้ว แต่เมื่อโตขึ้นอาจมีการฉีดวัคซีนกระตุ้น แล้วแต่ความเหมาะสมและดุลยพินิจของแพทย์
- พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอับเสบบีน้อยลงเรื่อย ๆ จนยอดผู้ป่วยปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 1-3% เท่านั้น จากการที่คนไทยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีกันตั้งแต่เด็ก ๆ
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา