อาการ “นิ้วล็อก” คุณกำลังอยู่ในระดับไหนกันนะ !

บทความสุขภาพ

10 พ.ค. 2565
ครั้ง

อาการ “นิ้วล็อก” คุณกำลังอยู่ในระดับไหนกันนะ
      เคยไหมอยู่ดี ๆ ก็นิ้วล็อก งอหรือเหยียดนิ้วไม่ได้ เพราะอาการนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใคร ๆ ก็เป็นได้โดยเฉพาะในปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่มีการใช้สมาร์ตโฟน การทำงานที่ต้องพิมพ์คีย์บอร์ดใช้เมาส์หรือผู้ที่ต้องทำงานในลักษณะที่เกร็งนิ้วมือนาน ๆ เช่น ทันตแพทย์ ช่างทำผมคนทำอาหาร ศิลปิน ฯลฯ

      สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก (Trigger Finger) เกิดจากการการใช้แรงงอนิ้ว หรือ กำนิ้วแน่นมาก ๆ ส่งผลให้เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วบริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว หรือปลอกเอ็น บริเวณข้อโคนนิ้วหนาตัวขึ้น เวลาจะกำมือหรือเหยียดนิ้วจึงรู้สึกเหมือนถูกล็อกไว้

อ่านข้อมูลดี ๆ ที่ภาพถัดไปได้เลย

อาการ “นิ้วล็อก” 4 ระดับ เช็กเลยคุณเป็นระดับไหน 

      ระดับที่ 1 เจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
      ระดับที่ 2 อาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือ
      ระดับที่ 3 กำมือแล้วเกิดอาการล็อกต้องใช้มือช่วยง้างออก
      ระดับที่ 4 กำมือได้ไม่สุด นิ้วผิดรูป280068361_945853176110133_57561919751245570_n.jpg
 

5 ท่าบริหารอาการนิ้วล็อก
      เพื่อออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือสามารถทำตามภาพกันได้เลย

280183763_945854816109969_4569622173448104671_n.jpg

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อก

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรพักมือเป็นระยะ ๆ 
  • ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
  • แช่มือในน้ำอุ่นตอนเช้า 5-10 นาทีจะช่วยให้บรรเทาอาการให้ทุเลาลง
  • ไม่หิ้วของหนักเกินไป

      อาการนิ้วล็อกมีระดับความรุนแรงที่ต่างกันจึงไม่ควรละเลย และ ปล่อยไว้จนเรื้อรังเพราะปลอกเส้นเอ็นเสียหาย ที่อาจอาการหนักถึงขั้นต้องรับการผ่าตัดเลยทีเดียว

      สำหรับท่านใดที่สนใจตรวจสุขภาพประจำปีสามารถสอบถามโปรแกรม และ แพ็กเกจต่าง ๆ ที่มีให้เลือกมากมาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ และยินดีให้บริการทุกท่านอยู่เสมอ

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา
iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png