รู้หรือไม่? ฤดูร้อนแดดแรง เสี่ยง “ต้อกระจก”
บทความสุขภาพ
รู้หรือไม่? ฤดูร้อนแดดแรง เสี่ยง “ต้อกระจก”
เป็นที่ทราบกันดีว่าการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการผิวไหม้จากแดดและมะเร็งผิวหนัง แต่รู้หรือไม่ว่ารังสียูวีนั้นยังเป็นอันตรายต่อดวงตาได้ด้วยเช่นกัน การได้รับรังสียูวีจากดวงอาทิตย์เป็นเวลานานก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อเนื้อ จอประสาทตาเสื่อม และโรคตาอักเสบ
รู้จักกับต้อกระจก ?
ต้อกระจกเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดการขุ่นของ “เลนส์ตา” ปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส ทำหน้าที่ช่วยในการรวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี เมื่อเกิดต้อกระจก ทำให้แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัว พบบ่อยในผู้สูงอายุ
อาการต้อกระจก- มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด มองเห็นมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์
- ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตาจึงไม่รวมเป็นจุดเดียว ในผู้ป่วยบางรายจะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อย ๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนกลับมาอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น
- สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน
- มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการมอง
- เมื่อต้อกระจกสุก อาจสังเกตเห็นเป็นสีขาวตรงรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้
- สวมแว่นกันแดด โดยแว่นที่ใช้ควรสามารถป้องกันรังสียูวีเอ ยูวีบี ได้ 99 – 100 %
- สวมหมวกหรือกางร่ม เพื่อลดการโดนรังสียูวีโดยตรง
- หยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับตา
- หลีกเลี่ยงการออกแดดจัด โดยช่วงเวลา 10.00 – 16.00 เป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดดรุนแรงมากที่สุด
- ปรึกษาจักษุแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา
อาการ “ตาแดง มีอาการแสบ เคืองตา และตามัวชั่วขณะ” เป็นอาการที่ตารับแสงมากเกินไป นอกจากการป้องกันดวงตาจากแสงแดดด้วยวิธีข้างต้น เพื่อดูแล และบำรุงสายตาให้แข็งแรง ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา โดยเน้นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซีเป็นหลัก
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา