Do & DON'T ถ้าไม่อยากมีปัญหาหลัง "อุดฟัน"
บทความสุขภาพ
Do & DON'T ถ้าไม่อยากมีปัญหาหลัง "อุดฟัน"
เมื่อฟันแท้เกิดปัญหา ’ฟันผุ’ เราไม่สามารถถอนออกแล้วรอให้ฟันชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ การ ‘อุดฟัน’ จึงเป็นวิธีที่ช่วยรักษาปัญหาฟันผุด้วยการปิดช่องทางที่แบคทีเรียจะสามารถเข้าไปทลายฟันส่วนที่ยังเหลืออยู่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยยังคงใช้งานฟันส่วนที่เหลือได้ยาวนานขึ้น .
การอุดฟัน คืออะไร
การอุดฟัน คือการเติมเต็มเนื้อฟันที่ถูกสูญเสียไปจากกรณีต่างๆ เช่น ฟันผุ ฟันสึก ฟันแตกหรือบิ่นจากอุบัติเหตุ หรือวัสดุอุดเก่าชำรุด หรือบิ่น ด้วยวัสดุสำหรับอุดฟันโดยเฉพาะ เพื่อให้ฟันกลับมามีรูปร่างปกติ และสามารถบดเคี้ยวอาหารได้เหมือนเดิม
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน มีกี่ชนิด
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันที่เป็นที่นิยม มี 2 ชนิด ได้แก่ วัสดุอุดโลหะ และวัสดุสีเหมือนฟัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วัสดุอุดโลหะ หรืออะมัลกัม
วัสดุอุดโลหะทำจากอะมัลกัม เป็นโลหะที่ได้จากการผสมระหว่างปรอทกับโลหะอื่นๆ ในทางทันตกรรมใช้สารประกอบ เงิน-ดีบุก-อะมัลกรัม มีสีเทาเงิน นุ่ม ไหล และสามารถปั้นได้
ข้อดี มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี แข็งแรง สามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี และมีราคาถูกกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
ข้อเสีย การอุดฟันด้วยวัสดุอุดโลหะต้องเสียเนื้อฟันมากกว่า เพราะต้องใช้พื้นที่ในการรองรับวัสดุมากกว่า มีสีไม่เหมือนฟันตามธรรมชาติ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของเนื้อฟันรอบ ๆ ให้เป็นสีเทา และแม้ว่าจะมีโอกาสน้อย แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้สารปรอทที่ผสมอยู่ในวัสดุอะมัลกัมได้
- วัสดุสีเหมือนฟัน หรือเรซินคอมโพสิต
เรซินคอมโพสิต เป็นวัสดุอุดฟันที่ลอกเลียนลักษณะของฟันธรรมชาติ ทำจากส่วนผสมหลัก 2 ส่วน ได้แก่ เมทริกซ์ ที่ประกอบด้วยสารโมโนเทอร์ และส่วนของวัสดุอัดแทรก ที่ช่วยเพิ่มด้านความแข็งแรงให้กับวัสดุ
ข้อดี สามารถเลือกสีที่เหมือนฟันได้ ใช้อุดฟันได้หลากหลายสาเหตุ ทั้งฟันผุ ซ่อมแซมฟันที่บิ่นหรือแตกให้กลับมามีรูปร่างปกติ และสูญเสียเนื้อฟันน้อยกว่าการอุดด้วยวัสดุอุดโลหะ เพราะไม่จำเป็นต้องกรอฟันมากกว่าส่วนที่ผุเพื่อรองรับวัสดุ
ข้อเสีย เรซินคอมโพสิตมีอายุการใช้งานน้อยกว่าอะมัลกัม มีความแข็งแรงน้อยกว่า จึงมีโอกาสเสี่ยงในการแตกของวัสดุได้มากกว่า และมีวิธีการที่ซับซ้อนกว่า ทำให้มีราคาสูงกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุโลหะ
DO ที่ ควรทำ หลังอุดฟัน
- แปรงฟันร่วมกันการใช้ไหมขัดฟัน
- ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์
- รีบกลับไปพบทันตแพทย์หากพบความผิดปก
DON’T ที่ ไม่ควรทำ หลังอุดฟัน
- ไม่ควรกินอาหารแข็ง กรอบ หรือเหนียว
- ไม่สูบบุหรี่ ดื่มชาหรือกาแฟ
- กัดหรือแทะอาหารด้วยฟันที่เพิ่งผ่านการอุด
เมื่อเกิดฟันผุแล้วไม่รักษา จะทำให้รูหรือโพรงลุกลาม กว้าง และลึกขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ปวดฟัน ฟันโยก เคี้ยวไม่ได้ เกิดฝี หรือหนองตามมา ในบางรายอาจไม่สามารถรักษาได้ จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออก ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากฟันผุ ควรรีบไปอุดฟันตั้งแต่เนิ่น ๆ
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา