4 ระยะ "อาการนิ้วล็อก" ของวัยทำงาน
บทความสุขภาพ
12 ก.ย. 2565
ครั้ง
นิ้วล็อค
ภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที
อาการนิ้วล็อค แบ่งเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
- ระยะที่ 2 มีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือ แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้เอง
- ระยะที่ 3 กำมือแล้วเกิดอาการล็อก ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เอง ต้องใช้มือมาช่วยง้างออก
- ระยะที่ 4 ไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาคนส่วนใหญ่จะไม่เรื้อรัง ถ้าเกิดยังสามารถขยับนิ้วได้บ้างเพราะมักจะหายเองได้ แต่ว่ากรณีที่เป็นมาก ติดล็อคเยอะ ๆ แล้วไม่รักษาเลย จนกลายเป็นภาวะข้อติดแข็งก็อาจเป็นเรื้อรังได้
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา