ฮีทสโตรก โรคอันตรายภัยร้ายในหน้าร้อน
ข่าวสารทั่วไป
30 มี.ค. 2565
ครั้ง
ฮีทสโตรก โรคอันตรายภัยร้ายในหน้าร้อน
ฤดูร้อนในเดือนเมษายน สำหรับประเทศไทย นับว่าเป็นเดือนที่สภาพอากาศค่อนข้างร้อนจัด อากาศร้อนๆ โรคฮีทสโตรก หรือที่เรียกกันเป็นภาษาไทยว่า โรคลมแดด คือ ภาวะของร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ส่งผลให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นส่งผลให้เกิด อาการปวดศีรษะ หน้ามืด หายใจเร็ว อาจจะมีภาวะชัก และหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
หากพบเจอผู้ที่เป็นโรคฮีทสโตรก สามารถช่วยเหลือปฐมพยาบาลในเบื้องต้นได้โดย
ฤดูร้อนในเดือนเมษายน สำหรับประเทศไทย นับว่าเป็นเดือนที่สภาพอากาศค่อนข้างร้อนจัด อากาศร้อนๆ โรคฮีทสโตรก หรือที่เรียกกันเป็นภาษาไทยว่า โรคลมแดด คือ ภาวะของร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ส่งผลให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นส่งผลให้เกิด อาการปวดศีรษะ หน้ามืด หายใจเร็ว อาจจะมีภาวะชัก และหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
โรคฮีทสโตรกมักมีอาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตถึงความผิดปกติได้ คือ ตัวร้อนมาก อุณหภูมิของร่างกายจะสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง และอาจมีอาการร้ายแรงอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น มีการตายของเซลล์ตับ มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว มีอาการช็อค หรือร้ายแรงถึงขึ้นทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายเกิดการล้มเหลวได้
หากพบเจอผู้ที่เป็นโรคฮีทสโตรก สามารถช่วยเหลือปฐมพยาบาลในเบื้องต้นได้โดย
- นำตัวผู้ป่วยเข้าในที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายลง
- ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
- คลายเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวม เพื่อช่วยระบายความร้อนให้กับร่างกาย
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบศรีษะ และเช็ดตามตัว ซอกรักแร้ ซอกคอ ของผู้ป่วย ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลงให้เร็วมากที่สุดฃกรณีผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่ามากๆ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด
การดูแลป้องกันตัวเองช่วงฤดูร้อน ในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว เพื่อให้ห่างไกลจากโรคฮีทสโตรก สามารถทำได้โดย
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งที่มีอากาศร้อนจัด
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี
- จิบน้ำบ่อยๆ ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
- อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ ควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในรถที่จอดกลางแจ้งเด็ดขาด
- หากออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ที่อากาศไม่ร้อนมาก
- สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง หรือใช้ร่ม เพื่อกันแดด
- อย่าอยู่ในห้องปิดทึบ เพราะอากาศจะไม่ถ่ายเท อาจเกิดความร้อนสะสม และทำให้เกิดอาการฮีทสโตรกได้แม้อยู่ในบ้าน
- หากมีอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคฮีทสโตรก ให้รีบปฐมพยาบาลและพบแพทย์โดยทันที
ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา