"ภาวะตัวเย็นเกิน" อันตรายในช่วงหน้าหนาว!

บทความสุขภาพ

12 พ.ย. 2567
ครั้ง
"ภาวะตัวเย็นเกิน" อันตรายในช่วงหน้าหนาว! 

       ฤดูหนาวช่วงเวลาที่ใครหลายคนเฝ้ารอ เพราะนอกจากจะเป็นฤดูกาลแห่งการท่องเที่ยวชมสายหมอกแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่อากาศเย็นสบาย ไม่มีเหงื่อ แต่อากาศที่หนาวเย็นก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน ตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรง เช่น ผิวหนังแห้ง มีไข้ ไปจนถึงอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่าง ภาวะตัวเย็นเกิน 


2.png

สาเหตุของภาวะตัวเย็นเกิน

  • เกิดจากการสัมผัสกับความหนาวเย็น เช่น อากาศหนาว หรือแช่อยู่ในน้ำเย็นจัด มักพบในคนอายุไม่มากที่ร่างกายแข็งแรง เกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่
  • เกิดจากร่างกายสูญเสียความร้อน มักพบในผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปี) ผู้ที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน (เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต โรคสมองเสื่อมหรือปัญญาอ่อน พาร์กินสัน เบาหวานที่มีภาวะประสาทเสื่อม ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดอาหาร เป็นต้น)
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือกินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาท บุคคลกลุ่มนี้เมื่อสัมผัสอากาศเย็นพอประมาณ (ไม่ถึงกับหนาวมาก) อุณหภูมิร่างกายก็จะลดลงถึงขั้นเป็นอันตรายได้

3.png

อาการของภาวะตัวเย็น

  • ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น ซึ่งเป็นอาการระยะแรกที่จะสังเกตได้
  • ผู้ป่วยเริ่มมีอุณหภูมิลดต่ำลง จะมีความรู้สึกตัวน้อยลง พูดอ้อแอ้ เดินเซ อ่อนเพลีย ง่วงซึม ร่วมกับอาการหัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงมาก
  • ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัว หลับ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น ซึ่งถึงขั้นเสียชีวิตได้

4.png
      ภาวะตัวเย็นเกิน ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและสมอง และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยภาวะตัวเย็นเกินจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน โดยแพทย์จะรีบทำให้ร่างกายอุ่นขึ้น เช่น ห่มผ้านวมหรือผ้าห่มหนาๆ แช่น้ำอุ่นหรือประคบด้วยน้ำอุ่น ห่มผ้าห่มไฟฟ้า ให้สารน้ำที่อุ่นเข้าทางหลอดเลือดดำ ให้หายใจอากาศที่อุ่นเข้าร่างกาย หรือการสวนน้ำอุ่นทางกระเพาะอาหาร ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ ช่องท้อง โพรงเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

1.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png