ผลกระทบระยะยาวโควิด-19 (Long COVID)

บทความสุขภาพ

03 มี.ค. 2565
ครั้ง

เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว ทำไมยังมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่มอยู่เลยล่ะ ?

หากคุณมีอาการเหมือนตอนที่ร่างกายได้รับเชื้อ แม้จะไม่มีเชื้อโควิด-19 ภายในร่างกายแล้ว คุณอาจกำลังเผชิญกับ #โควิดระยะยาว หรือ Long Covid เป็นอาการที่เกิดจากระบบภายในร่างกายเกิดความเสียหายจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวกับผู้ป่วยที่หายจากโควิด ตั้งแต่หลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน ซึ่งอาการที่พบจะแตกต่างกันออกไป

กลุ่มที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบจาก Long Covid คือ

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด เบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก หรือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ
  • มักพบในผู้สูงอายุ เพศหญิง มากกว่าเพศชาย

อาการ Long covid ที่ส่งผลกระทบต่อ #ระบบประสาทและสมอง ที่มักพบ คือ275141198_908603859835065_8301953474649842014_n.jpg

  • 44% ปวดหัว
  • 27% ขาดสมาธิ
  • 23% เสียการรับรส
  • 21% เสียการรับกลิ่น
  • 11% นอนไม่หลับ

นอกจากนี้ยังมีอาการ

  • 16% สูญเสียความทรงจำบางส่วน
  • 13% มีความวิตกกังวล
  • 12% มีอาการซึมเศร้า

อาการ Long Covid ที่ส่งผลกระทบต่อ #ระบบในร่างกายโดยรวม ที่มักพบ คือ 275008570_908605483168236_5056091674606038775_n.jpg

  • 58% เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
  • 44% ปวดข้อเข่า
  • 25% ผมร่วง
  • 24% หายใจติดขัด
  • 19% ไอจาม
  • 16% แน่นหน้าอก
  • 12% ซูบผอม

นอกจากนี้อาจมีอาการ

  • 16% คลื่นไส้
  • 15% หูตึงเฉียบพลัน
  • 11% ปวด ล้า
  • ฯลฯ

ข้อมูลสถิติจาก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา
iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png